Hello Kitty In Black Magic Hat

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

โรคลูคีเมีย



มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมีย (Leukemia) คือ ความผิดปกติของร่างกายในส่วนการทำงานของ
ไขกระดูกหรือเซลล์ต้นกำเนิดเม็ด โลหิต (Stem Cell) ซึ่งมีหน้าที่ในการผลิตเม็ดเลือดในร่างกาย
มนุษย์เรา เม็ดเลือดจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ เม็ดเลือดแดงทำหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย เม็ดเลือดขาวทำหน้าที่ทำลาย กำจัดเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย 
และเกล็ดเลือดทำหน้าที่เสมือนกาวที่คอยปิดรอยฉีกขาดของหลอดเลือด ทำให้เลือดหยุดไหล 
กรณีของมะเร็งเม็ดเลือดขาว ไขกระดูกจะผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติออกมาเป็นจำนวนมาก 
จนอยู่ในภาวะไม่สมดุลกับเม็ดเลือดต่าง ๆ ซึ่งมีผลทำให้ระบบการทำงานของเม็ดเลือดในร่างกายผิดปกติ โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ชนิดเรื้อรังอาการจะค่อย ๆ แสดงความรุนแรงของโรค 
และชนิดเฉียบพลัน อาการจะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าชนิดแรกต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว

อ่านเพิ่มเติม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคลูคีเมีย

โรคคนเผือก

โรค Albinism หรือคนผิวเผือก เป็นโรคทางพันธุกรรมเกิดขึ้นได้ทั้งคนและสัตว์ เกิดขึ้นได้ทุกเชื้อชาติ ส่วนใหญ่เกิดจากสัตว์เรียกลูกด้วยนมและสัตว์เลื้อยคลาน จะไม่พบในสัตว์จำพวกแมลง 
สาเหตุของโรค Albinism หรือคนผิวเผือกเกิดจากข้อบกพร่องทางทางพันธุกรรม เนื่องจากความผิดปกติของยีน ที่ทำหน้าที่ควบคุม การสร้างเม็ดสีเมลานินในอวัยวะต่างๆ ทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตเม็ดสีเมลานินออกมาได้ คนที่เป็นโรคเผือกจึงมีผิวขาว ผมสีขาว ตาสีขาว ม่านตาสีเทาและโปร่งแสง รูม่านตาสะท้อนแสงออกมาเป็นสีแดง และอาจมีปัญหาเกี่ยวกับสายตา
การวินิจฉัยโรค Albinism หรือคนผิวเผือก
การทดสอบทางพันธุกรรมภาวะผิวเผือก เกิดกับคนทุกเชื้อชาติ มีอัตราการเกิดประมาณ 1:17,000 คน เกิดในพื้นที่ที่มีคนดำอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะเกิดจากการผสมกันระหว่างยีนด้อยกับยีนด้อย อ่านเพิ่มเติม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคคนเผือก

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

อาชีพที่อยากเป็น

เภสัชกร

 นิยามอาชีพ
          นำแนวคิดและทฤษฎีทางด้านเภสัชศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการเตรียมและผสมยาหรือจำหน่ายเวชภัณฑ์และยาต่าง ๆ เตรียมและจัดแจงเวชภัณฑ์ตามใบสั่งยาของแพทย์ ทันตแพย์และ สัตวแพทย์ หรือทำการผสมสูตรยา ตรวจดูใบสั่งยาเพื่อให้แน่ใจว่าขนาดของยาที่สั่งเป็นขนาดที่เหมาะสม และเพื่อให้แน่ใจว่าคนไข้ หรือผู้ที่จ่ายยาให้คนไข้ เข้าใจวิธีการใช้ยา รวมทั้งให้การแนะนำในกรณีที่เกิดการแพ้ยา จัดเวชภัณฑ์และยาใน
          โรงพยาบาล หรือจำหน่ายในร้ายขายยาทั่วไป จดบันทึกรายการยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาเสพติดสารพิษ และยาที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมซ้ำซาก ทดสอบตัวยาเพื่อให้รู้ว่าเป็นยาอะไร สกัดยาให้บริสุทธิ์และเข้มข้นขึ้น มีส่วนร่วมในการพัฒนา กฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ เขียนรายงานและวารสารทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่การงานที่เกี่ยวข้องและควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติงานอื่น ๆ
ลักษณะของงานที่ทำ
        ค้นคว้าและพัฒนาสูตรยาตำรับใหม่ๆเพื่อขึ้นทะเบียนและส่งสูตรที่สำเร็จแล้วให้ฝ่ายผลิตเพื่อทำการผลิตยาออกจำหน่าย ควบคุมการผลิตยาให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ วิเคราะห์ ตรวจสอบยาที่ผลิตให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ปรุงยา จ่ายยาและสิ่งที่เกี่ยวข้องตามใบสั่งหรือตามสูตร เตรียมการผลิตยา
อ่านเพิ่มเติม
                        ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เภสัชกร

โรคธาลัสซีเมีย

โรคธาลัสซีเมีย นี้เกิดจากความผิดปกติของรหัสพันธุกรรม หรือยีนที่มีหน้าที่สร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ฮีโมโกลบินนั้นประกอบไปด้วยกลุ่มโปรตีน 2 ชนิด คือ อัลฟ่าโกลบินซึ่งถูกกำหนดโดยโครโมโซมคู่ที่ 16 และเบต้าโกลบิล ที่ถูกกำหนดโดยโครโมโซมคู่ที่ 11 เมื่อใดที่เกิดความผิดปกติของยีนตัวใดตัวหนึ่งหรือคู่ใดคู่หนึ่ง ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติต่อการสร้างฮีโมโกลบิน ทั้งในแง่ปริมาณและลักษณะ เรียกว่าภาวะ ธาลัสซีเมีย ความผิดปกติที่ยีนตัวเดียว ทำให้เกิดภาวะแฝง โรคธาลัสซีเมีย หรือเป็นพาหะ 
          แต่ถ้าเกิดความผิดปกติขึ้นกับยีนคู่ใดคู่หนึ่ง เรียกได้ว่าเป็น โรคโลหิตจาง ธาลัสซีเมีย ซึ่งแบ่งได้ 2 ชนิด ดังนี้
          1. อัลฟ่า ธาลัสซีเมีย คือผู้ที่ร่างกายสร้างอัลฟ่า โกลบิน โปรตีนลดน้อยลงกว่าปกติ ในเมืองไทยเองมีผู้เป็นพาหะชนิดนี้ 15-20 เปอร์เซ็นต์ ของคนทั้งประเทศ ผู้มีพาหะอัลฟ่า ธาลัสซีเมียจากการขาดหายไปของยีนอัลฟ่าเพียง 1 ตัวนั้นเรียกว่าอัลฟ่า ธาลัสซีเมีย-2 ซึ่งเป็นชนิดไม่แสดงอาการและไม่มีผลต่อสุขภาพใด ๆ  อ่านเพิ่มเติม

                                             ทาลัสซีเมีย โรคธาลัสซีเมีย


โรคดักแด้

โรคดักแด้ หรือ Epidermolysis Bullosa (EB)
   เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ เกิดจากความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการสร้างผิวหนัง หากมีคุณพ่อคุณแม่ หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้มาก่อน ก็สามารถ่ายทอดผ่านทางยีนเด่น (Autosomal dominant) มาสู่ลูกได้

โรคนี้แบ่งความรุนแรงได้ตามลักษณะโครงสร้างของผิวหนัง ดังนี้
1. Epldermolysis bullosa simplex : เป็นความผิดปกติที่ชั้นหนังกำพร้า (epidermis) ซึ่งเป็นขั้นไม่รุนแรง ส่วนมากจะเกิดในวัยทารก เมื่อมีการเสียดสี กระทบกระทั่ง มีการขัดถูที่ผิวหนัง ก็อาจเกิดเป็นตุ่มน้ำ เมื่อตุ่มน้ำแตกก็เกิดแผล แต่เมื่อแผลหายแล้วจะไม่เป็นแผลเป็น 

2. Junctional EB : เป็นตุ่มน้ำขึ้นที่ชั้นผิวหนังระหว่างรอยต่อของชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) กับชั้นหนังแท้ (Eermis) หากเป็นในขั้นนี้เมื่อแผลหายแล้วจะไม่เป็นแผลเป็น แต่อาจพบความผิดปกของเล็บ ระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร และระบบทางเดินปัสสาวะร่วมด้วย 

3. Eystrophic EB : อาการขั้นรุนแรงที่สุด เพราะเกิดในชั้นหนังแท้ นอกจากความรุนแรงที่ผิวหนังแล้ว หากดูแลแผลไม่ดีเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจทำให้มีแผลที่รอบปาก หรือเกิดแผลในปาก ทำให้เจ็บแสบกลืนอาหารไม่สะดวก อ่านเพิ่มเติม


โรคเบาหวาน

       โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง และก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดปัญหากับ ฟันและเหงือก ตา ไต หัวใจ หลอดเลือดแดง ท่านผู้อ่านสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ โดยการปรับ อาหาร การออกกำลังกาย และยาให้เหมาะสม ท่านผู้อ่านสามารถนำข้อเสนอแนะจากบทความนี้ไปปรึกษากับแพทย์ที่รักษาท่านอยู่ ท่านต้องร่วมมือกับคณะแพทย์ที่ทำการรักษาเพื่อกำหนดเป้าหมายการรักษา บทความนี้เชื่อว่าจะช่วยท่านควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น
โรคเบาหวานคืออะไร
อาหารที่รับประทานเข้าไปส่วนใหญ่จะเปลี่ยนจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดเพื่อใช้เป็นพลังงาน การเจาะเลือดเซลล์ในตับอ่อนชื่อเบต้าเซลล์เป็นตัวสร้างอินซูลิน อินซูลินเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสเข้าเซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงาน โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพของอินซูลินลดลงเนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอยู่เป็นเวลานานจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต และระบบประสาท  อ่านเพิ่มเติม

                           ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคเบาหวาน

โรคฮีโมฟีเลีย

อาการของ โรคฮีโมฟีเลีย คือ จะเป็นจ้ำเขียว และมีอาการเลือดออกภายในข้อต่างๆ ของร่างกาย เมื่อเริ่มมีอาการผู้ป่วยจะมีอาการปวดตึงขัดบริเวณกล้ามเนื้อและข้อ อาการจะรุนแรงมากขึ้น มีข้อติด กล้ามเนื้อลีบ หรือเกิดภาวะข้อพิการได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม  

สาเหตุของโรคฮีโมฟีเลีย เกิดจากภาวะขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือดที่เรียกว่าแฟคเตอร์ 8 หรือ แฟคเตอร์ 9 มาแต่กำเนิด ดังนั้นการรักษาผู้ป่วยโรคนี้ต้องให้แฟคเตอร์เข้มข้นทดแทนปัจจัยการแข็งตัวของเลือดที่ผู้ป่วยขาดไป ซึ่งแฟคเตอร์เข้มข้นที่ใช้ฉีดให้ผู้ป่วยฮีโมฟีเลีย ในประเทศไทยปัจจุบันนี้ เป็นแฟคเตอร์เข้มข้นที่สกัดจากพลาสมาของผู้บริจาคเลือดและผ่านกระบวนการทำลายเชื้อโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคเอดส์ โรคตับอักเสบ ซึ่งมีความปลอดภัยสูง และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้จัดสรรเงินงบประมาณ ปีละ 9,000 บาท/ราย สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี และ 120,000 บาท/ราย 

          สำหรับเด็กอายุมากกว่า 10 ปี หรือผู้ใหญ่ เพื่อให้โรงพยาบาลจัดซื้อแฟคเตอร์เข้มข้นรักษาเมื่อเริ่มมีอาการเลือดออกที่บ้านหรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน สำหรับผู้ป่วย โรคฮีโมฟีเลีย ทุกรายที่ลงทะเบียนที่หน่วยบริการรับการส่งต่อเฉพาะ โรคฮีโมฟีเลีย ในโรงพยาบาล 38 แห่งทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2549 อ่านเพิ่มเติม

                                            โรคฮีโมฟีเลีย