Hello Kitty In Black Magic Hat

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

โรคลูคีเมีย



มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมีย (Leukemia) คือ ความผิดปกติของร่างกายในส่วนการทำงานของ
ไขกระดูกหรือเซลล์ต้นกำเนิดเม็ด โลหิต (Stem Cell) ซึ่งมีหน้าที่ในการผลิตเม็ดเลือดในร่างกาย
มนุษย์เรา เม็ดเลือดจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ เม็ดเลือดแดงทำหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย เม็ดเลือดขาวทำหน้าที่ทำลาย กำจัดเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย 
และเกล็ดเลือดทำหน้าที่เสมือนกาวที่คอยปิดรอยฉีกขาดของหลอดเลือด ทำให้เลือดหยุดไหล 
กรณีของมะเร็งเม็ดเลือดขาว ไขกระดูกจะผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติออกมาเป็นจำนวนมาก 
จนอยู่ในภาวะไม่สมดุลกับเม็ดเลือดต่าง ๆ ซึ่งมีผลทำให้ระบบการทำงานของเม็ดเลือดในร่างกายผิดปกติ โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ชนิดเรื้อรังอาการจะค่อย ๆ แสดงความรุนแรงของโรค 
และชนิดเฉียบพลัน อาการจะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าชนิดแรกต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว

อ่านเพิ่มเติม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคลูคีเมีย

โรคคนเผือก

โรค Albinism หรือคนผิวเผือก เป็นโรคทางพันธุกรรมเกิดขึ้นได้ทั้งคนและสัตว์ เกิดขึ้นได้ทุกเชื้อชาติ ส่วนใหญ่เกิดจากสัตว์เรียกลูกด้วยนมและสัตว์เลื้อยคลาน จะไม่พบในสัตว์จำพวกแมลง 
สาเหตุของโรค Albinism หรือคนผิวเผือกเกิดจากข้อบกพร่องทางทางพันธุกรรม เนื่องจากความผิดปกติของยีน ที่ทำหน้าที่ควบคุม การสร้างเม็ดสีเมลานินในอวัยวะต่างๆ ทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตเม็ดสีเมลานินออกมาได้ คนที่เป็นโรคเผือกจึงมีผิวขาว ผมสีขาว ตาสีขาว ม่านตาสีเทาและโปร่งแสง รูม่านตาสะท้อนแสงออกมาเป็นสีแดง และอาจมีปัญหาเกี่ยวกับสายตา
การวินิจฉัยโรค Albinism หรือคนผิวเผือก
การทดสอบทางพันธุกรรมภาวะผิวเผือก เกิดกับคนทุกเชื้อชาติ มีอัตราการเกิดประมาณ 1:17,000 คน เกิดในพื้นที่ที่มีคนดำอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะเกิดจากการผสมกันระหว่างยีนด้อยกับยีนด้อย อ่านเพิ่มเติม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคคนเผือก

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

อาชีพที่อยากเป็น

เภสัชกร

 นิยามอาชีพ
          นำแนวคิดและทฤษฎีทางด้านเภสัชศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการเตรียมและผสมยาหรือจำหน่ายเวชภัณฑ์และยาต่าง ๆ เตรียมและจัดแจงเวชภัณฑ์ตามใบสั่งยาของแพทย์ ทันตแพย์และ สัตวแพทย์ หรือทำการผสมสูตรยา ตรวจดูใบสั่งยาเพื่อให้แน่ใจว่าขนาดของยาที่สั่งเป็นขนาดที่เหมาะสม และเพื่อให้แน่ใจว่าคนไข้ หรือผู้ที่จ่ายยาให้คนไข้ เข้าใจวิธีการใช้ยา รวมทั้งให้การแนะนำในกรณีที่เกิดการแพ้ยา จัดเวชภัณฑ์และยาใน
          โรงพยาบาล หรือจำหน่ายในร้ายขายยาทั่วไป จดบันทึกรายการยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาเสพติดสารพิษ และยาที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมซ้ำซาก ทดสอบตัวยาเพื่อให้รู้ว่าเป็นยาอะไร สกัดยาให้บริสุทธิ์และเข้มข้นขึ้น มีส่วนร่วมในการพัฒนา กฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ เขียนรายงานและวารสารทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่การงานที่เกี่ยวข้องและควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติงานอื่น ๆ
ลักษณะของงานที่ทำ
        ค้นคว้าและพัฒนาสูตรยาตำรับใหม่ๆเพื่อขึ้นทะเบียนและส่งสูตรที่สำเร็จแล้วให้ฝ่ายผลิตเพื่อทำการผลิตยาออกจำหน่าย ควบคุมการผลิตยาให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ วิเคราะห์ ตรวจสอบยาที่ผลิตให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ปรุงยา จ่ายยาและสิ่งที่เกี่ยวข้องตามใบสั่งหรือตามสูตร เตรียมการผลิตยา
อ่านเพิ่มเติม
                        ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เภสัชกร

โรคธาลัสซีเมีย

โรคธาลัสซีเมีย นี้เกิดจากความผิดปกติของรหัสพันธุกรรม หรือยีนที่มีหน้าที่สร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ฮีโมโกลบินนั้นประกอบไปด้วยกลุ่มโปรตีน 2 ชนิด คือ อัลฟ่าโกลบินซึ่งถูกกำหนดโดยโครโมโซมคู่ที่ 16 และเบต้าโกลบิล ที่ถูกกำหนดโดยโครโมโซมคู่ที่ 11 เมื่อใดที่เกิดความผิดปกติของยีนตัวใดตัวหนึ่งหรือคู่ใดคู่หนึ่ง ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติต่อการสร้างฮีโมโกลบิน ทั้งในแง่ปริมาณและลักษณะ เรียกว่าภาวะ ธาลัสซีเมีย ความผิดปกติที่ยีนตัวเดียว ทำให้เกิดภาวะแฝง โรคธาลัสซีเมีย หรือเป็นพาหะ 
          แต่ถ้าเกิดความผิดปกติขึ้นกับยีนคู่ใดคู่หนึ่ง เรียกได้ว่าเป็น โรคโลหิตจาง ธาลัสซีเมีย ซึ่งแบ่งได้ 2 ชนิด ดังนี้
          1. อัลฟ่า ธาลัสซีเมีย คือผู้ที่ร่างกายสร้างอัลฟ่า โกลบิน โปรตีนลดน้อยลงกว่าปกติ ในเมืองไทยเองมีผู้เป็นพาหะชนิดนี้ 15-20 เปอร์เซ็นต์ ของคนทั้งประเทศ ผู้มีพาหะอัลฟ่า ธาลัสซีเมียจากการขาดหายไปของยีนอัลฟ่าเพียง 1 ตัวนั้นเรียกว่าอัลฟ่า ธาลัสซีเมีย-2 ซึ่งเป็นชนิดไม่แสดงอาการและไม่มีผลต่อสุขภาพใด ๆ  อ่านเพิ่มเติม

                                             ทาลัสซีเมีย โรคธาลัสซีเมีย


โรคดักแด้

โรคดักแด้ หรือ Epidermolysis Bullosa (EB)
   เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ เกิดจากความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการสร้างผิวหนัง หากมีคุณพ่อคุณแม่ หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้มาก่อน ก็สามารถ่ายทอดผ่านทางยีนเด่น (Autosomal dominant) มาสู่ลูกได้

โรคนี้แบ่งความรุนแรงได้ตามลักษณะโครงสร้างของผิวหนัง ดังนี้
1. Epldermolysis bullosa simplex : เป็นความผิดปกติที่ชั้นหนังกำพร้า (epidermis) ซึ่งเป็นขั้นไม่รุนแรง ส่วนมากจะเกิดในวัยทารก เมื่อมีการเสียดสี กระทบกระทั่ง มีการขัดถูที่ผิวหนัง ก็อาจเกิดเป็นตุ่มน้ำ เมื่อตุ่มน้ำแตกก็เกิดแผล แต่เมื่อแผลหายแล้วจะไม่เป็นแผลเป็น 

2. Junctional EB : เป็นตุ่มน้ำขึ้นที่ชั้นผิวหนังระหว่างรอยต่อของชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) กับชั้นหนังแท้ (Eermis) หากเป็นในขั้นนี้เมื่อแผลหายแล้วจะไม่เป็นแผลเป็น แต่อาจพบความผิดปกของเล็บ ระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร และระบบทางเดินปัสสาวะร่วมด้วย 

3. Eystrophic EB : อาการขั้นรุนแรงที่สุด เพราะเกิดในชั้นหนังแท้ นอกจากความรุนแรงที่ผิวหนังแล้ว หากดูแลแผลไม่ดีเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจทำให้มีแผลที่รอบปาก หรือเกิดแผลในปาก ทำให้เจ็บแสบกลืนอาหารไม่สะดวก อ่านเพิ่มเติม


โรคเบาหวาน

       โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง และก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดปัญหากับ ฟันและเหงือก ตา ไต หัวใจ หลอดเลือดแดง ท่านผู้อ่านสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ โดยการปรับ อาหาร การออกกำลังกาย และยาให้เหมาะสม ท่านผู้อ่านสามารถนำข้อเสนอแนะจากบทความนี้ไปปรึกษากับแพทย์ที่รักษาท่านอยู่ ท่านต้องร่วมมือกับคณะแพทย์ที่ทำการรักษาเพื่อกำหนดเป้าหมายการรักษา บทความนี้เชื่อว่าจะช่วยท่านควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น
โรคเบาหวานคืออะไร
อาหารที่รับประทานเข้าไปส่วนใหญ่จะเปลี่ยนจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดเพื่อใช้เป็นพลังงาน การเจาะเลือดเซลล์ในตับอ่อนชื่อเบต้าเซลล์เป็นตัวสร้างอินซูลิน อินซูลินเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสเข้าเซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงาน โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพของอินซูลินลดลงเนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอยู่เป็นเวลานานจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต และระบบประสาท  อ่านเพิ่มเติม

                           ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคเบาหวาน

โรคฮีโมฟีเลีย

อาการของ โรคฮีโมฟีเลีย คือ จะเป็นจ้ำเขียว และมีอาการเลือดออกภายในข้อต่างๆ ของร่างกาย เมื่อเริ่มมีอาการผู้ป่วยจะมีอาการปวดตึงขัดบริเวณกล้ามเนื้อและข้อ อาการจะรุนแรงมากขึ้น มีข้อติด กล้ามเนื้อลีบ หรือเกิดภาวะข้อพิการได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม  

สาเหตุของโรคฮีโมฟีเลีย เกิดจากภาวะขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือดที่เรียกว่าแฟคเตอร์ 8 หรือ แฟคเตอร์ 9 มาแต่กำเนิด ดังนั้นการรักษาผู้ป่วยโรคนี้ต้องให้แฟคเตอร์เข้มข้นทดแทนปัจจัยการแข็งตัวของเลือดที่ผู้ป่วยขาดไป ซึ่งแฟคเตอร์เข้มข้นที่ใช้ฉีดให้ผู้ป่วยฮีโมฟีเลีย ในประเทศไทยปัจจุบันนี้ เป็นแฟคเตอร์เข้มข้นที่สกัดจากพลาสมาของผู้บริจาคเลือดและผ่านกระบวนการทำลายเชื้อโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคเอดส์ โรคตับอักเสบ ซึ่งมีความปลอดภัยสูง และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้จัดสรรเงินงบประมาณ ปีละ 9,000 บาท/ราย สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี และ 120,000 บาท/ราย 

          สำหรับเด็กอายุมากกว่า 10 ปี หรือผู้ใหญ่ เพื่อให้โรงพยาบาลจัดซื้อแฟคเตอร์เข้มข้นรักษาเมื่อเริ่มมีอาการเลือดออกที่บ้านหรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน สำหรับผู้ป่วย โรคฮีโมฟีเลีย ทุกรายที่ลงทะเบียนที่หน่วยบริการรับการส่งต่อเฉพาะ โรคฮีโมฟีเลีย ในโรงพยาบาล 38 แห่งทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2549 อ่านเพิ่มเติม

                                            โรคฮีโมฟีเลีย
    
          

โรคตาบอดสี

            ตาบอดสี หรือที่เรียกว่า colour blindness เป็นอาการที่ตาของผู้ป่วยแปรผลแปรภาพสีผิดไป จากผู้อื่นที่เป็นตาปกติ ตาเป็นอวัยวะจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในสังคม หากเกิดความ ผิดปกติไม่ว่า จะเป็นเรื่องใดที่มีผลกระทบต่อการมองเห็น บุคคลนั้นๆ ย่อมได้รับผลกระทบไม่ทางใด ก็ทางหนึ่ง ภาวะตาบอดสีเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในสังคมมากพอสมควร

           ปกติแล้วตาคนเราจะมีเซลรับแสงอยู่ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นเซลรับแสงที่รับรู้ถึงความมืด หรือ สว่าง ไม่สามารถแยกสีออกได้และจะมีความไวต่อการกระตุ้นแม้ในที่ที่มีแสงเพียงเล็กน้อย เช่น เวลากลางคืน เซลกลุ่มที่สองเป็นเซลล์ทำหน้าที่มองเห็นสีต่าง ๆ โดยจะแยกได้เป็นเซล อีก 3 ชนิด ตามระดับคลื่นแสง หรือสี ที่กระตุ้น คือ เซลล์รับแสงสีแดง เซลล์รับแสงสีน้ำเงิน และเซลรับแสงสีเขียวสำหรับแสงสีอื่น จะกระตุ้นเซลดังกล่าวมากกว่าหนึ่งชนิดแล้วให้สมองเราแปลภาพออก มาเป็นสีที่ต้องการ เช่น สีม่วงเกิด จากแสงที่กระตุ้นทั้งเซลรับแสงสีแดงและเซลรับแสงสีน้ำเงินในระ ดับที่พอ ๆ กัน ซึ่งเซลกลุ่มที่สองนี้จะ ทำงานได้ดีต้องมีแสงสว่างเพียงพอ ดังนั้นในที่สลัว ๆ เราจึงไม่สามารถแยกสีของวัตถุได้ แต่ยังพอบอก รูปร่างได้ เนื่องจากมีการทำงานในเซลของกลุ่มแรกอยู่ เมื่อเพิ่มแสงสว่างขึ้นเราจึงมองเห็นสีต่าง ๆ ขึ้นมา  อ่านเพิ่มเติม

                              

โรคทางพันธุกรรม

 โรคทางพันธุกรรม หรือ โรคติดต่อทางพันธุกรรม เป็น โรคที่เกิดขึ้นโดยมีสาเหตุมาจากการถ่ายทอดพันธุกรรมของฝั่งพ่อและแม่ หากหน่วยพันธุกรรมของพ่อและแม่มีความผิดปกติแฝงอยู่ โดยความผิดปกติเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากการผ่าเหล่าของหน่วยพันธุกรรมบรรพบุรุษ ทำให้หน่วยพันธุกรรมเปลี่ยนไปจากเดิมได้ 
          ทั้งนี้ โรคทางพันธุกรรม นี้ เป็นโรคติดตัวไปตลอดชีวิต ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยโรคทางพันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม 2 ประการ คือ ความผิดปกติของออโตโซม (โครโมโซมร่างกาย) และความผิดปกติของโครโมโซมเพศ
โรคที่เกิดจากความผิดปกติบนออโตโซม (Autosome)
          โรคที่เกิดจากความผิดปกติบนออโตโซม คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมในร่างกาย ที่มี 22 คู่ หรือ 44 แท่ง สามารถเกิดได้กับทุกเพศ และมีโอกาสเกิดได้เท่า ๆ กัน โรคที่เกิดจากความผิดปกติบนออโตโซม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ความผิดปกติที่จำนวนออโตโซม และความผิดที่รูปร่างโครโมโซม  อ่านเพิ่มเติม

                                                โรคทางพันธุกรรม โรคติดต่อทางพันธุกรรม

โรคจากสารเคมีกําจัดศัตรูพืช

ถือเป็นโรคและการเจ็บป่วยที่เกิดจากการประกอบอาชีพอย่างหนึ่ง เกิดจากการได้สัมผัสสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชเข้า สู่ร่างกาย ทั้งทางปาก ผิวหนัง และการหายใจ
ผลกระทบด้านสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

  1. ผลกระทบที่เป็นพิษเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการในทันทีหลังจากสัมผัสสารเคมี เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง หายใจติดขัด ตาพร่า เป็นต้น
  2. ผลกระทบที่เป็นพิษเรื้อรัง เกิดจากพิษสะสมที่ก่อให้เกิดโรคหรือปัญหาอื่นๆ เช่น มะเร็ง เบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคผิวหนังต่างๆ การเป็นหมัน การพิการของทารกแรกเกิด หรือการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง : วิกฤตในระบบอาหารไทยการบริโภคผักและผลผลิตที่มีสารเคมีตกค้าง ดังรายงานการตรวจเลือดในเกษตรกรและผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่าเกษตรกรและแม่บ้านมีสารเคมีตกค้างในระดับไม่ปลอดภัยและเสี่ยงรวมร้อยละ ๗๕ ส่วนในกลุ่มผู้บริโภคที่รวมถึงนักเรียน บุคลากรในมหาวิทยาลัย ข้าราชการ นั้นมีสูงถึงร้อยละ ๘๙.๒๒ ซึ่งสาเหตุหลักของความแตกต่างนี้อาจเป็นเพราะว่าเกษตรกรมีตัวเลือกในการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยมากกว่าผู้บริโภคทั่วไป
การป้องกันเมื่อต้องทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

  1. ก่อนที่จะใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ควรอ่านฉลากที่ติดมากับภาชนะบรรจุให้เข้าใจเกี่ยวกับวิธีใช้ การป้องกันอันตรายและวิธีแก้พิษ  อ่านเพิ่มเติม
                             ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคจากสารเคมีกําจัดศัตรูพืช

โรคหอบหืด

   คำจำกัดความ
          โรคหอบหืดจากการทำงาน เป็นโรคที่เกิดกับผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในบรรยากาศที่มีสารก่อโรคที่ทำให้เกิดอาการหอบหืดขึ้น เช่น toluene diisocyanates ละหุ่ง กาแฟ ฯลฯ มาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์ อาการสำคัญของโรคประกอบด้วย ไอ แน่นหน้าอก หอบเหนื่อย และหายใจมีเสียงหวีด อาการเหล่านี้ อาจหายไปได้เองหรือหายไปเมื่อได้รับยาขยายหลอดลม
          อุบัติการณ์
          เท่าที่ได้มีการสำรวจพบว่า หอบหืดจากการทำงาน มีอุบัติการณ์ประมาณร้อยละ 2 - 3 ของผู้ป่วย โรคหอบหืดทั้งหมด อย่างไรก็ดีพบว่าอุบัติการณ์ของโรคในกลุ่มนี้ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับชนิดของ สารก่อโรค และระยะเวลาในการทำงาน ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงานจนป่วยเป็นโรค เรียกว่า latent interval พบว่า latent interval นี้จะขึ้นอยู่กับความรุนแรง (potency) ของสารก่อโรค ระยะเวลาของการทำงาน ความเข้มข้นของสารก่อโรคในบรรยากาศ และที่สำคัญที่สุดคือการที่บุคคลนั้นมีโรคภูมิแพ้ (atopy) อยู่ใน ตัวด้วยหรือไม่ ดังตัวอย่างเช่น เกลือของ platinum ซึ่งเป็นสารก่อโรคที่แรงที่สุด จะทำให้เกิดโรคได้เร็วมาก โดยใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ในขณะที่ isocyanates จะต้องใช้เวลานานถึง 2 ปี จึงจะเกิดโรค ผู้ป่วยที่สัมผัสกับสารก่อโรคที่มีการระคายเคืองรุนแรง อาจเกิดโรคหอบหืดขึ้นทันที โดยไม่มี latent interval. ที่เรียกว่า reactive airway disease syndrome (RADS)  อ่านเพิ่มเติม
                             

                              ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ

โรคปอดฝุ่นฝ้ายหรือโรคบิสสิโนซิส



สาเหตุของการเกิดโรคบิสสิโนซิส
            โรคบิสสิโนซิส เกิดจากการที่เราหายใจเอาฝุ่น ป่าน และปอ ซึ่งมีการปนเปื้อนด้วยเชื้อโรคต่าง ๆ ได้แก่ เชื้อรา และเชื้อแบคทีเรีย ฝุ่นดังกล่าวเป็นฝุ่นเส้นใยจากธรรมชาติ ซึ่งจะเข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายมีการหลั่งสารอิสตามีน ทำให้หลอดหายใจแคบลงได้ จึงทำให้แน่นหน้าอกและไอได้
อาการของโรคบิสสิโนซิส
           พบได้ทั้งอาการเฉียบพลันและเรื้อรัง  ผู้เริ่มป่วยด้วยโรคบิสสิโนซิสจะมีอาการ
  • แน่นหน้าอกในวันแรกที่กลับมาทำงานหลังจากได้หยุดพักไป ส่วนใหญ่จะเป็นในวันจันทร์จะแน่นหน้าอกลดลงในตอนเย็นหลังจากเลิกงาน และจะหายไปในวันที่ 2 หรือวันต่อมามีอาการไอร่วมด้วย
อาการอื่นที่พบได้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคปอดฝุ่นฝ้าย
  • หายใจมีเสียง “หวี๊ดๆ” ได้ยินเสียง
  • หอบเหนื่อย
  • นอนราบไม่ได้
  • แน่นหน้าอกทุกวัน (ถ้าเป็นมาก)
  • ไอ อานไม่มีเสมหะในระยะแรก และต่อมามีเสมหะ
  • หายใจสั้น
  • อาการแบบโรคหลอดลมอักเสบ อ่านเพิ่มเติม

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

โรคซิลิโคสิส (Silicosis )



โรคปอดจากฝุ่นหิน  หรือซิลิโคสิส เป็นโรคปอดจากการทำงานที่มีสาเหตุจากการสูดหายใจเอาฝุ่นซิลิกอนไดออกไซด์หรือเรียกว่าผลึกซิลิก้าซึ่งส่วนมากจะพบในหินทรายเข้าไป
ลักษณะงานและอาชีพที่เสี่ยง
อาชีพที่เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคคือ ผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ งานที่เกี่ยวข้องกับการตัดหิน สกัดหิน  โรงงานโม่บดย่อยหิน  อุตสาหกรรมทำแก้ว เซรามิก  ครก อุตสาหกรรมทำอิฐ กระเบื้องทนไฟ  วัตถุทนความร้อน เครื่องสุขภัณฑ์ เป็นต้น
อันตรายต่อระบบอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย
ผลึกที่เป็นสาเหตุของโรคซิลิโคสิสมี 3 ชนิดคือ ควอทซ์ (Quarts) คริสโตแบไลท์ ( Cristobalite ) และทริไดไมท์ (Tridimite) ขนาดของฝุ่นซิลิคอนไดออกไซด์ ก็เป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดโรคซิลิโคสิส  โดยเฉพาะฝุ่นที่ม็ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.05 – 5 µ ซึ่งสามารถเข้าไป  อยู่ในถุงลมปอดได้  โดยจะถูกเม็ดเลือดขาวในปอดจับกินและมีผลทำให้เกิดปฏิกริยาต่อเนื้อปอด  ซึ่งต่อมาจะก่อให้เกิดพังผืดที่เนื้อปอด  เมื่อยังคงหายใจเอาฝุ่ที่มีซิลิกอนไดออกไซด์ เข้าไปในปอดอย่างต่อเนื่องมากขึ้นและการป้องกัน  การควบคุมไม่เหมาะสม ในที่สุดจะทำให้เนื้อปอดเสียเป็นวงกว้างจนทำให้ปอดไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ผู้ที่สัมผัสฝุ่นที่ซิลิกอนไดออกไซด์เป็นจำนวนสูงโดยไม่มีการป้องกัน อ่านต่อ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคฝุ่นหิน

โรคเกิดจากการประกอบอาชีพ

การประกอบอาชีพเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของประชากรเวลากว่า 1 ใน 3 ใช้ไปกับการประกอบอาชีพ การจัดสภาพในที่ประกอบอาชีพให้เหมาะสมปราศจากโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่อผู้ประกอบอาชีพ จึงมีความสำคัญ โรคเกิดจากการประกอบอาชีพ หมายความถึงโรคและการบาดเจ็บจากการประกอบอาชีพ โดยแบ่งตามสาเหตุหรือลักษณะการเกิดโรค เป็น 2 ประเภทคือ
1. โรคเกิดจากการประกอบอาชีพ  หมายถึงโรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนโดยมีสาเหตุประกอบอาชีพเหตุจากการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพในที่ประกอบอาชีพ ซึ่งอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงานหรือหลังจากทำงานเป็นเวลานาน และโรคบางอย่างอาจเกิดภายหลังหยุดการทำงานหรือลาออกจากงานนั้นๆแล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของสิ่งคุกคามสุขภาพ ปริมาณสารที่ได้รับ และโอกาสหรือวิธีการที่ได้รับ ตัวอย่างของโรคที่สำคัญ เช่น โรคพิษตะกั่ว โรคซิลิโคสิส (โรคปอดจากฝุ่นหิน) โรคพิษสารทำละลายต่าง ๆ   ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ในเชิงสาเหตุและผลกระทบ อ่านต่อ

                            ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ