Hello Kitty In Black Magic Hat

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

โรคหอบหืด

   คำจำกัดความ
          โรคหอบหืดจากการทำงาน เป็นโรคที่เกิดกับผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในบรรยากาศที่มีสารก่อโรคที่ทำให้เกิดอาการหอบหืดขึ้น เช่น toluene diisocyanates ละหุ่ง กาแฟ ฯลฯ มาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์ อาการสำคัญของโรคประกอบด้วย ไอ แน่นหน้าอก หอบเหนื่อย และหายใจมีเสียงหวีด อาการเหล่านี้ อาจหายไปได้เองหรือหายไปเมื่อได้รับยาขยายหลอดลม
          อุบัติการณ์
          เท่าที่ได้มีการสำรวจพบว่า หอบหืดจากการทำงาน มีอุบัติการณ์ประมาณร้อยละ 2 - 3 ของผู้ป่วย โรคหอบหืดทั้งหมด อย่างไรก็ดีพบว่าอุบัติการณ์ของโรคในกลุ่มนี้ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับชนิดของ สารก่อโรค และระยะเวลาในการทำงาน ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงานจนป่วยเป็นโรค เรียกว่า latent interval พบว่า latent interval นี้จะขึ้นอยู่กับความรุนแรง (potency) ของสารก่อโรค ระยะเวลาของการทำงาน ความเข้มข้นของสารก่อโรคในบรรยากาศ และที่สำคัญที่สุดคือการที่บุคคลนั้นมีโรคภูมิแพ้ (atopy) อยู่ใน ตัวด้วยหรือไม่ ดังตัวอย่างเช่น เกลือของ platinum ซึ่งเป็นสารก่อโรคที่แรงที่สุด จะทำให้เกิดโรคได้เร็วมาก โดยใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ในขณะที่ isocyanates จะต้องใช้เวลานานถึง 2 ปี จึงจะเกิดโรค ผู้ป่วยที่สัมผัสกับสารก่อโรคที่มีการระคายเคืองรุนแรง อาจเกิดโรคหอบหืดขึ้นทันที โดยไม่มี latent interval. ที่เรียกว่า reactive airway disease syndrome (RADS)  อ่านเพิ่มเติม
                             

                              ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น